คำเป็น – คำตาย และ คำครุ – คำลหุ

คำเป็น หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น มา นี มี ตา มา ดู ปู ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น กลาง คืน ลืม เลย เชียว ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ ไอ เอา เช่น ทำ ใจ ไป เอา ฯลฯ

คำตาย หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา แต่ยกเว้นสระอำ ไอ ใอ เอา เช่น สุ จิ ปุ ลิ ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น ยก ทัพ ตัด บท ฯลฯ

ครุ (เอก) คือ พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาว (ทีฆสระ) และ สระเกินทั้ง 4 คือ สระอำ ใอ ไอ เอา และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น ตา ดำ หัด เรียน ฯลฯ

ครุ (เสียงหนัก) เป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในมาตราแม่ ก.กา และมีตัวสะกดรวมทั้งประสมด้วยสระอำ ไอ ใอ เอา เช่น จำ ได้ ไป เขา รัก ลูก
คำครุ แปลว่า เสียงหนัก ประกอบด้วย
พยางค์ที่มีสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด เช่น มาหา พารา
พยางค์ที่มีตัวสะกดทั้ง 8 แม่ เช่น รัก ชิด ชอบ ฯลฯ
พยางค์ที่มีสระ อำ ไอ ใอ เอา เช่น เรา จำ ใจ ไป

ลหุ (โท) คือ พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้น(รัสสระ) ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น พระ จะ มิ ดุ แกะ ฯลฯ

ลหุ (เสียงเบา) คำที่มีเสียงเบาเป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น เช่น จะ ดุ ติ ผิว กระทะ ฤ
คำลหุ แปลว่า เสียงเบา ประกอบด้วย

พยางค์ที่มีสระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด เช่น มะลิ ชิชะ ก็ เถอะ
พยางค์ที่มีตัวพยัญชนะตัวเดียว เช่น ณ บ ธ

ครุ-ลหุ มีสัญลักษณ์แทนดังนี้ั

เอก คือ
พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคำตายทั้งสิ้น ซึ่งในโคลง และร่าย ใช้เอกแทนได้ เช่น พ่อ แม่ พี่ ปู่ ชิ ชะ มัก มาก ฯลฯ

โท คือ พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท เช่น น้า ป้า ช้าง นี้น้อง ต้อง เลี้ยว ฯลฯ

เอก-โท ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์ เอก โท นิยมใช้กับคำประพันธ์ประเภทร่าย โคลง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น